Call Center: (02)538-2229
 สำนักงาน: (02)538-7900
 Fax: (02)538-5508
 E-mail: bangkokdrugstore@yahoo.com

ภาวะซึมเศร้า


ผู้ทำรายการ : shopaga.kวันที่ : 10/10/2023หมวด : โรค

บทความโดย ภก.จีรานุวัฒน์ ฤกษ์นิยม (แซม)

บทนำ

            ปัจจุบันหลากหลายคนมักพบปัญหาหลายอย่างที่เข้ามาที่กระทบต่อจิตใจ อาจจะทำให้เรารู้สึกท้อแท้ ผิดหวัง ไม่อยากตื่นมาใช้ชีวิต เก็บตัว เบื่ออาหาร เป็นต้น ซึ่งสภาวะอาการเหล่านี้อาจจะส่งผลทำให้เราเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งผู้เขียนจะพามารู้จัก ภาวะอาการของโรคซึมเศร้า ปัจจัยที่กระตุ้นทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า การประเมินภาวะซึมเศร้า และแนวทางการรักษา

ภาวะอาการซึมเศร้าคืออะไร

     ซึมเศร้า เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ ทำให้เกิดความเศร้าหมอง แต่หากเกิดมากจะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน โดยมักมีความรู้สึก หงุดหงิดง่าย เก็บตัว ท้อแท้ และมีภาวะนอนไม่หลับร่วมด้วย เป็นต้น

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้า

1.          ปัจจัยทางพันธุกรรม 

     1.1.       ผู้ที่มีอาการเป็นซ้ำหลาย ๆ ครั้ง มักพบว่ากรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้อง

2.          ปัจจัยทางด้านสารเคมีในสมอง

     2.1.       การเสียสมดุลของสารในสมอง เช่น สารซีโรโทนิน (Serotonin) นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) โดยผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า สารเหล่านี้จะลดต่ำลง ส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติในการส่งสัญญาณของสมองทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้

3.          ปัจจัยทางด้านลักษณะนิสัย

     3.1.       หากเป็นคนที่มีทัศนคติแบบนี้ จะก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ง่าย เช่น มองโลกในแง่ลบ มองแต่ความบกพร่องของตนเอง

อาการของโรคซึมเศร้า

            อาการที่เกิดขึ้นของคนที่มีภาวะซึมเศร้า จะค่อยเป็นค่อยไปเป็นเดือน ๆ โดยจะมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงสำคัญดังนี้

1.          อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป

2.          ความคิดเปลี่ยนไป

3.          สมาธิความจำแย่ลง

4.          ความสัมพันธ์คนรอบข้างน้อยลง

5.          ทำงานได้ประสิทธิภาพลดลง

6.          มีภาวะอาการทางจิต

การประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยตัวเอง

            อาการซึมเศร้ามีด้วยกันหลายระดับ ตั้งแต่ระดับต้นไปจนถึงส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำซึ่งอาการที่มักจะพบ ได้แก่ ท้อแท้ ผิดหวัง เบื่ออาหาร ไม่อยากตื่นมาใช้ชีวิต เก็บตัว เป็นต้น ดังนั้นผู้เขียนอยากให้ผู้ที่มีอาการเหล่านี้ทำแบบประเมินสภาวะอารมณ์ (Patient health Questionnaire;PHQ9) การประเมินนี้เป็นการประเมินระดับภาวะซึมเศร้าในขั้นต้น ส่วนการวินิจฉัยนั้นจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย รวมถึงส่งตรวจเพิ่มเติมที่จำเป็น เพื่อยืนยันการวินิจฉัยที่แน่นอน รวมถึงเพื่อแยกโรคหรือภาวะอื่น ๆ

แนวทางการรักษาภาวะซึมเศร้า

1.          การรักษาโดยจิตบำบัด (Psychotherapy)

               Cognitive Behavioral therapy: CBT ใช้วิธีการพูดคุยกับนักจิตบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจความคิด ความเชื่อ หรือการรับรู้ของตนเอง

               Interpersonal therapy:IP เป็นวิธีการจิตบำบัดรูปแบบหนึ่งโดยใช้ความสัมพันธ์ของผู้ป่วยกับบุคคลอื่น ๆ

               Problem-Solving Therapy:PST เป็นวิธีการจิตบำบัดรูปแบบหนึ่งโดยช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับประสบการณ์ที่ตึงเครียดในชีวิต

2.          การใช้ยา

               ใช้ยากลุ่ม Serotonin reuptake inhibitor: SSRI โดยตัวยาในกลุ่มนี้จะทำให้สารซีโรโตนินเพิ่มขึ้นบริเวณส่วนต่อระหว่างเซลล์ประสาท เช่น ยา Fluoxetine, Sertraline

3.          การกระตุ้นเซลล์สมอง

               การบำบัดกระตุ้นโดยการช็อคด้วยไฟฟ้า:โดยกระแสไฟฟ้าจะเพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาทในสมอง ทำให้ภาวะซึมเศร้าดีขึ้นตามลำดับ

               การบำบัดกระตุ้นโดยการช็อคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า:เป็นการใช้ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าวางบนศีรษะโดยกำลังคลื่นแม่เหล็กอ่อนจะไปกระตุ้นเซลล์ประสาทส่วนที่ควบคุมอารมณ์ปกติและเศร้า

อ้างอิง:

1.         https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1017

2.          https://www.pobpad.com/รู้จัก-cognitive-behavioral-therapy-บำบัดจิตโดยป

3.          https://www.pobpad.com/การรักษาโรคซึมเศร้า

<a href="https://www.freepik.com/free-vector/depression-concept-illustration_10386538.htm#query=depression&position=0&from_view=keyword&track=sph">Image by storyset</a> on Freepik


บริษัท กรุงเทพดรักสโตร์ จำกัด
2585/2 ถนนลาดพร้าว(ใกล้ปากซอยลาดพร้าว 87)แขวงคลองเจ้าคุณสิงห์ เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310
โทร: (02)538-7900 แฟกซ์: (02)538-5508
E-mail: bangkokdrugstore@yahoo.com

[คลิกที่ภาพเพื่อดูแผนที่ขนาดใหญ่]