Call Center: (02)538-2229
 สำนักงาน: (02)538-7900
 Fax: (02)538-5508
 E-mail: bangkokdrugstore@yahoo.com

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล


ผู้ทำรายการ : shopaga.kวันที่ : 07/07/2023หมวด : อาหาร/อาหารเสริม

บทความโดย ภก. กฤตภาส บุญญเมธานันท์

สารให้ความหวานแทนน้ำตาลมีอยู่หลากหลายชนิด

1. แอสปาร์แตม (Aspartame) : มีความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 200 เท่า ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารมากมายเพราะรสชาติดี และรสคล้ายน้ำตาลทรายมาก แต่ข้อเสียคือ ไม่ทนความร้อน จะสลายตัวที่อุณหภูมิสูง จึงไม่แนะนำให้นำมาทำอาหารที่ต้องใช้ความร้อนสูง เช่น การทำอาหารและอบขนม

นอกจากนี้ตอนนี้ยังมีการศึกษาที่คาดว่าอาจมีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งอีกด้วย จึงยังต้องติดตามผลดัานความปลอดภัยกันต่อไป

2. ขัณฑศกร หรือ แซกคารีน (Saccharin) เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่หวานกว่าน้ำตาล 200-700 เท่า รสชาติหวานติดลิ้นและมีขมปลาย มีคุณสมบัติทนกรดทนร้อน ปัจจุบันมักใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม แยม ซอส เป็นต้น ด้านความปลอดภัย ในอดีตเคยมีข้อควรระวังการใช้ในมนุษย์ เพราะเคยมีการศึกษาในหนูทดลองพบว่าเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ จนมาในปี 2000 ทาง USFDA ได้รวบรวมการศึกษาที่เคยทำในมนุษย์ พบว่าผลด้านการเกิดมะเร็งในหนู ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันกับในมนุษย์ จึงได้ปลดคำเตือนเรื่องการเป็นสารก่อมะเร็ง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

3.  Erythritol เป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างคล้ายน้ำตาล มีตวามหวานประมาณ 70% ของน้ำตาลทราย รสออก หวาน ๆ เย็น ตามท้องตลาดมักผสมกับน้ำตาลหล่อฮั่งก๊วยสกัด ซึ่งเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเช่นเดียวกัน โดยเมื่อผสมกันแล้วรสชาติที่ได้จะหวานพอดี ๆ มีกลิ่นรสคล้ายน้ำตาลทรายแดง โดยสาร 2 ตัวนี้ เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่มีฤทธิ์ทนร้อนได้ จึงสามารถนำมาปรุงอาหารเมนูต่าง ๆได้ แต่ Erythrirol เป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์ หากใส่เยอะเกินไปอาจเกิดผลข้างเคียงด้านทางเดินอาหารในบางรายได้ เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย เป็นต้น

4. สารสกัดหญ้าหวาน (Stevia Glycoside) เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีความหวานประมาณ 280 – 300 เท่าของน้ำตาลทราย มีฤทธิ์ขมปลายนิดหน่อย สามารถทนต่อความร้อนและกรด จึงนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารค่อนข้างแพร่หลาย เช่น ทำหมากฝรั่ง ลูกอม เครื่องดื่ม ไอศกรีม แยม เยลลี่  รวมถึงสามารถนำไปประกอบอาหารหรืออบขนมในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย และจากการศึกษาด้านความปลอดภัยของสตีวิโอไซด์ในปัจจุบันพบว่าว่ามีแนวโน้มทางด้านความปลอดภัยได้ดี และไม่ค่อยก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ

<a href="https://www.freepik.com/free-vector/female-hand-putting-sugar-cubes-into-cup-coffee-person-adding-sweetener-morning-drink-flat-vector-illustration-breakfast-health-concept-banner-website-design-landing-web-page_29119152.htm#query=sweetener&position=23&from_view=keyword&track=sph">Image by pch.vector</a> on Freepik


บริษัท กรุงเทพดรักสโตร์ จำกัด
2585/2 ถนนลาดพร้าว(ใกล้ปากซอยลาดพร้าว 87)แขวงคลองเจ้าคุณสิงห์ เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310
โทร: (02)538-7900 แฟกซ์: (02)538-5508
E-mail: bangkokdrugstore@yahoo.com

[คลิกที่ภาพเพื่อดูแผนที่ขนาดใหญ่]